Cute Purple Pencil

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)
          เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) เป็นเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีการหมัก เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการสร้างแหล่งวัตถุดิบใหม่ ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาบทบาทและหน้าที่ของยีนในสิ่งมีชีวิตต่างๆ และสามารถพัฒนาวิธีการควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางพันธุกรรมได้สำเร็จ จึงได้นำความรู้ทางด้านนี้รวมกับเทคนิควิธีอื่นๆ ทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนา ปรับปรุงสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ

ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ 
        จะเห็นได้ว่า มนุษย์มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพด้านพันธุกรรมมาใช้ ปรับปรุง ดัดแปลง หรือให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ พืช สัตว์หรือแม้กระทั่งมนุษย์ เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านพันธุกรรมมีหลายวิธี และมีการนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ดังนี้

ด้านการเกษตร
1.ช่วยเพิ่มผลผลิต เช่น การสร้างสายพันธุ์ข้าว พันธุ์วัวนม หรือวัวเนื้อที่ให้ผลผลิตสูง
2.เพิ่มคุณภาพของผู้ผลิต เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ตรงตามความต้องการของตลาด เช่น สี ขนาด หรือรูปร่างเป็นต้น
3.ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคและแมลงศัตรู

      เมื่อ พ.ศ. 2545 ศาสตราจารย์ อากิรา อิริตานิ หัวหน้าทีมวิจัย เรื่องพันธุวิศวกรรม แห่งมหาวิทยาลัยกินกิ ทางภาคตะวันตกของญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จในการนำยีนจากผักโขมใส่เข้าไปในยีนของสุกร โดยการฉีดยีนของผักโขมลงไปในไข่ของสุกรที่ผสมพันธุ์แล้วในหลอดแก้ว จากนั้นนำไปเก็บในตู้อบ แล้วฉีดใส่กลับเข้าไปในสุกร เมื่อลูกสุกรคลอดออกมา ปรากฏว่ามีสุขภาพแข็งแรงดี และที่สำคัญคือ สุกรลูกผสมตัวนี้ เมื่อนำไปวัดไขมัน พบว่ามีปริมาณลดลง20 % นักวิจัยเชื่อว่าสุกรอนามัยตัวนี้ จะมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าสุกรทั่วไป เพราะมียีนของผักโขม ซึ่งเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายผสมอยู่ อย่างไรก็ตามการวิจัยดังกล่าว ยังอยู่ในขั้นทดลองระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากอัรตราการรอดชีวิตของสุกร ที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรมมีน้อยเพียง 1 % เท่านั้น

ด้านการแพทย์
1.ทำให้สามารถผลิตยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น
2.ทำให้สามารถผลิตวัคซีนต่างๆ จากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้เพิ่มขึ้น
3.ผลิตสารแอนติบอดี เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น สารโมโนโคลนอล (monoclonol antibodies) เพื่อใช้การตรวจการตั้งครรภ์
4.ผลิตสารอินเตอร์เฟรอน (interferon) จากแบคทีเรียเพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง

ด้านสิ่งแวดล้อม
        ปรับปรุงสายพันธุ์แบคทีเรียให้สามารถกำจัดคราบน้ำมันในแหล่งน้ำได้
สามารถผลิตแก๊สมีเทนจากขยะและสิ่งที่เหลือจากการเกษตร ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดขยะอีกทางหนึ่งด้วย

ด้านอาหาร
1.ปรับปรุงพันธุ์พืชที่สามารถให้ผลผลิตสูง และทนต่อสภาพที่แห้งแล้งได้
2.ใช้จุลินทรีย์หรือโปรตีนเซลล์เดียวผสมในอาหาร เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้สุงขึ้น เช่น จุลินทรีย์พวกยีสต์ สาหร่าย เป็นต้น
3.การผลิตอาหารเสริมจากสาหร่าย รา ที่มีคุณค่าททางโภชนาการสูง เช่น โปรตีนจากราFusarium sp. ซึ่งมีโปรตีน 45 % ไขมัน 13 %
4.ปรับปรุงพันธุ์สัตว์ โดยใช้แบคทีเรียช่วยในการผลิตฮอร์โมนของสัตว์ให้มีปริมาณมากขึ้นและนำไปฉีดให้แก่สัตว์ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต

ด้านพลังงาน 
     สามารถผลิตพลังงานในรูปของแอลกอฮอล์เชื้อเพลิง (fuel alcohol) และแก๊สมีเทน (methane gas) ได้ในปริมาณมาก





แหล่งบรรณานุกรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น