Cute Purple Pencil

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิธีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรรม
1. ผ่านโครโมโซมร่างกาย
ดังที่ทราบแล้วว่า โครโมโซมในสิ่งมีชีวิตจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โครโมโซม ร่างกายและโครโมโซมเพศ โครโมโซมร่างกายมี 22 คู่ ซึ่งพบว่าการถ่ายทอดลักษณะ ในโครโมโซมร่างกายแต่ละคู่จะเป็นไปตามกฎของเมนเดล ตัวอย่างเช่น ยีนที่ควมคุม ลักษณะมีติ่งหู

2. ผ่านโครโมโซมเพศ
ลักษณะพันธุกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการถ่ายทอดลักษณะ พันธุกรรมผ่านทางโครโมโซมร่างกาย แต่จะมีลักษณะพันธุกรรมบางอย่าง ที่จะถ่ายทอดผ่านทางโครโมโซมเพศ
การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรรมทางโครโมโซมเพศ จะเกี่ยวเนื่องกับโครโมโซม X เนื่องจากมียีนที่ควบคุมลักษณะอื่นๆ เช่น ยีนกำหนดตาบอดสี ยีนกำหนดการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น เมื่อมียีนควบคุมลักษณะ ดังกล่าวใน โครโมโซม X ขณะที่โครโมโซม Y ไม่มี จึงทำให้อัลลีลด้อยแสดงลักษณะ ออกมาได้อย่างเต็มที่ในเพศชาย ซึ่งต่างจากเพศหญิงที่มีอัลลีลเป็นคู่ แต่ถ้ายีนใน เพศหญิงมีอัลลีลด้อยเพียงอัลลีลเดียว หญิงคนนั้นจะเป็นพาหะของโรค ตัวอย่าง เช่น ยีนกำหนดตาบอดสี

ความผิดปกติทางพันธุกรรม
           ลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ถูกควบคุมโดยยีนเป็นตัวกำหนดและ ถ่ายทอดจาก พ่อแม่ไปยังรุ่นลูกหลาน ลักษณะต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นที่เราเรียกว่าฟีโนไทป์ ซึ่งฟีโนไทป์บางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับยีนเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับ สิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทำให้ลักษณะต่างๆมีความแตกต่างไปจากเดิม และอาจทำให้ เกิดความผิดปกติได้
          การกลาย (mutation) หรือการผ่าเหล่า คือการเปลี่ยนแปลงที่ยีนทำให้คุณสมบัติ แตกต่างไปจากเดิม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือการชักนำให้เกิด โดยใช้รังสีหรือสารเคมี และเกิดขึ้นได้กับทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ลักษณะบางลักษณะ ที่เกิดจากการกลาย อาจช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ใมนบาง สภาพการกลายอาจเป็นส่นหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคได้ เนื่องจากยีนที่เปลี่ยนไป จะสร้าง โปรตีนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลทำให้ลักษณะบางอย่างของร่างกายผิดปกติไป การกลายแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

การกลายของเซลล์ร่างกาย
         การกลายของเซลล์ร่างกาย (somatic mutation) ไม่สามารถถ่ายทอด ไปยังลูกหลาน เช่นการเกิดมะเร็งผิวหนังของคนมักเกิดขึ้นกับคนที่มีผิวขาว มากกว่าคนที่มีผิวเข้ม สาเหตุส่วนใหญ่มาจากผิวหนังถูกแสงแดดจัดสะสม เป็นเวลานาน รังสีอุลตราไวโอเลตในแสงแดดจะทำลายยีนของเซลล์ผิวหนัง ทำให้อัตราการสร้างเซลล์ผิวหนัง ทดแทนบริเวณนั้นเพิ่มขึ้นในลักษณะ ที่ร่างกายควบคุมไม่ได้ จึงเกิดเป็นตุ่มเนื้อที่มีการขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่าเนื้องอก (tumor) ถ้าการขยายยังดำเนินต่อไป เนื้องอกนี้จะกลาย เป็นมะเร็งผิวหนัง (skin cancer) มักจะมีสีเข้มถึงสีดำ เนื่องจากบริเวณนี้ จะสร้างเม็ดสีที่เรียกว่า เมลานิน (melanin) เพิ่มเติม เพื่อป้องกันแสงแดดที่ส่อง ลงมากระทบผิวหนัง นอกจากนี้ ในกระบวนการแบ่งเซลล์ก็อาจทำให้เกิด การกลายได้ เนื่องมาจากการไขว้กันของโครโมโซม ซึ่งเรียกว่า การไข้เปลี่ยน (crossing – over)

การกลายของเซลล์สืบพันธุ์
         การกลายของเซลล์สืบพันธุ์ (sex mutation) สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ ซึ่งเกิดกับยีนในเซลล์สืบพันธุ์ผิดปกติ การกลายนอกจากจะเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ แล้ว มนุษย์ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดกลายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ (รวมทั้งตัวของ มนุษย์เอง) ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม เช่น รังสีต่างๆ (รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา รังสีอุลตราไวโอเลต) สารเคมีบางชนิด (สารเคมีในอาหาร สารกันบูด สารกำจัดศัตรูพืช)
            การกลายล้วนมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ เช่น กรณีที่มีผลรุนแรงอาจทำให้ไม่มีบุตร ตั้งครรภ์แล้วแท้ง คลอดก่อนกำหนด มีอวัยวะไม่ครบ หรือมีอาการผิดปกติมาแต่กำเนิด แต่ถ้าได้รับผลน้อยก็อาจ ทำให้มีความผิดปกติเล็กน้อย ซึ่งทางการแพทย์สามารถแก้ไขได้ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ มีนิ้วเกินมา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าการกลายจะมีผลเสียไปทั้งหมด บางเรื่องก็มีผลดีต่อมนุษย์ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การเพิ่มความสามารถในการต้านทานโรค ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิต จางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell anaemia) ที่ฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ด เลือดแดงมีน้อยทำให้ความสามารถในการลำเลียงก๊าซออกซิเจนมีน้อยตามไปด้วย เพราะเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลายหรือเสียได้ง่าย ผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง หรือผู้ที่เป็นพาหะจะมีความต้านทานต่อโรคมาเลเลียสูงมาก เพราะเชื้อมาลาเลียจะไม่สามารถอยู่ในเซลล์เม็ดแดงที่เสียชีวิตแล้วได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น